ความรู้จากการบวช: ข้อควรปฏิบัติของพระ (ของใช้)

สาธุ สัพพัตถะ สังวะโร
ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี
(พุทธศาสนสุภาษิต หมวดศีล)

คนทั่วไปจะรู้จักของใช้ที่จำเป็นของพระภิกษุ เรียกว่า อัฐบริขาร มี ๘ อย่าง คือ (๑) จีวร (๒) สบง คือ ผ้านุ่ง (๓) สังฆาฏิ คือ ผ้าพาดบ่า (๔) ประคตเอว (๕) บาตร (๖) มีดโกน (๗) เข็มเย็บผ้า และ (๘) ธมกรก คือ ที่กรองน้ำ โดยจำกันว่า ผ้า ๔ เหล็ก ๓ น้ำ ๑ แต่ในพระวินัย พระพุทธองค์ทรงอนุญาตของใช้ไว้จำนวนมาก เช่น รองเท้า ร่ม เป็นต้น โดยระบุลักษณะต่าง ๆ ทั้งในแง่ขนาด วัสดุที่ทำ จำนวนที่มีได้ สีที่ใช้ได้ วิธีการทำ นอกจากนั้นแล้วยังทรงอนุญาตห้องประเภทต่าง ๆ เช่น เว็จกุฏิ (ห้องน้ำ) เรือนไฟ (คล้าย ๆ ห้องอบซาวน่าในปัจจุบัน) บอกถึงขนาด และวัตรปฏิบัติ (ข้อที่ควรกระทำ) ในการใช้ห้องต่าง ๆ ดังนั้นรายละเอียดของใช้และการใช้งานจึงมีเยอะมาก จึงขออภัยหากขาดตกบกพร่องมา ณ ที่นี้ และยินดีรับคำแนะนำจากผู้อ่าน และท่านใดสนใจเพิ่มเติม กรุณาศึกษาในแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น พระวินัยปิฎก ต่อไปครับ

ต่อไปนี้คือข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับ “ของใช้” ที่ผมพอจะถ่ายทอดได้และน่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ที่จะบวชใหม่หรือประยุกต์ใช้ในทางโลกต่อไปครับ

Continue reading

Posted in ความรู้จากการบวช, ประสบการณ์การบวช | Tagged , , , | Leave a comment

บันทึกการบวช: วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (มงคล ๓๘)

เช้าวันนี้ไปบิณฑบาตร ฝนตกปรอย ๆ ตอนครึ่งทาง จึงรู้สึกป่วยไม่ค่อยสบาย เช้านี้เลือกฉันข้าว ไก่ทอด และขนม ตอน ๘.๐๐ น. ฝนที่ตกปรอย ๆ จึงต้องกางร่มไปทำวัตรเช้า กลับจากทำวัตรเช้าก็มาจำวัดที่กุฏิ และห่มจีวรพับครึ่งแทนผ้าห่มซึ่งอุ่นกว่ามาก

snail

Continue reading

Posted in บันทึกการบวช, ประสบการณ์การบวช | Tagged , , , | Leave a comment

ความรู้จากการบวช: ข้อควรปฏิบัติของพระ (ของฉัน)

สีลัง กิเรวะ กัลยาณัง
ท่านว่าศีล เป็นความดี
(พุทธศาสนสุภาษิต หมวดศีล)

เรื่องการฉันของพระที่คนทั่วไปเข้าใจคือ พระจะไม่ฉันอาหารยามวิกาล คือหลังเที่ยงวันจนถึงอรุณรุ่งของอีกวันหนึ่ง ยกเว้นแต่น้ำปานะ และจะไม่ฉันของต้องห้ามอย่าง สุรายาเสพติด แต่พระวินัยได้อธิบายเนื้อหาเรื่อง อาหาร ยา และการฉัน ไว้ละเอียดมาก เนื่องจากรายละเอียดมีเยอะ อาจขาดตกบกพร่องได้ และเช่นเดิมคือ ผมขออภัยและยินดีรับคำแนะนำจากผู้อ่าน และกรุณาศึกษาหรืออ้างอิงในแหล่งอื่น เช่น พระวินัยปิฎก หากท่านสนใจเพิ่มเติมครับ

หัวข้อในเรื่อง “ของฉัน” ที่น่าจะเป็นประโยชน์และผมพอจะถ่ายทอดได้ มีดังนี้

Continue reading

Posted in ความรู้จากการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment

บันทึกการบวช: วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (ปาติโมกข์)

วันนี้เป็นวันพระ แรม ๑๕ ค่ำเดือน ๗ วันนี้ยังเป็นวันพิเศษ เพราะพระสงฆ์จะต้องลงอุโบสถเพื่อร่วมฟังสวดปาติโมกข์ตอน ๑๒.๑๕ น. วันสวดปาติโมกข์จะเกิดขึ้นทุกกึ่งเดือนคือขึ้น-แรม ๑๕ ค่ำ แต่วันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ไม่ต้องสวดปาติโมกข์ วันนี้พระสงฆ์จะต้องลงอุโบสถเพื่อร่วมฟังสวดปาติโมกข์ตอนเที่ยง วันนี้เลยพิเศษพอสมควร เริ่มตั้งแต่บิณฑบาต วันนี้มีคนมาตักบาตรมากเป็นพิเศษ เลยได้เจอประสบการณ์บาตรร้อนจากข้าวแกงจำนวนมากที่ยังร้อนอยู่ วันนี้เลือกฉันข้าว พะโล้ เค้กกล้วยหอม การที่ต้องเลือกเวลาฉันเช้าทำให้รู้ว่า พะโล้เป็นอาหารที่ปลอดภัยที่สุดในการเลือก เพราะมันคือไข่ต้มแบบพิเศษนั่นเอง และดูออกว่าทำมาจากอะไร

20160530_112607

ป้ายศีล 5 จากวัดคินคะคุจิ (วัดทอง) เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

Continue reading

Posted in บันทึกการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment

ความรู้จากการบวช: ข้อควรปฏิบัติของพระ (อาบัติ)

ญญะมะโต เวรัง นะ จียะติ
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น
(พุทธศาสนสุภาษิต หมวดศีล)

ก่อนบวชนั้นผมรู้ว่า กฎและข้อควรปฏิบัติของพระสงฆ์ในนามของ “ศีล” และการทำผิดกฎเหล่านี้ว่า “อาบัติ” และรู้ว่าศีลของพระภิกษุนั้นมี ๒๒๗ ข้อ พระภิกษุที่ทำผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง เรียกว่า “ต้องอาบัติ” และการแก้อาบัติที่เรียกว่า “ปลงอาบัติ” รู้จัก “อาบัติปาราชิก” ว่าใครทำผิดต้องลาสิกขาหรือสึกทันที แต่หลังจากบวช และได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับพระวินัยและข้อควรปฏิบัติของพระแล้ว ทำให้ผมรู้ว่า “ศีล” และ “อาบัติ” นั้นลึกซึ้งกว่านั้น หลายหัวข้อคล้ายคลึงกับกลไกทางโลกที่เราใช้ในชีวิตประจำวันที่เราใช้อยู่แล้ว หลายหัวข้อนั้นน่าจะเป็นประโยชน์แต่ยังไม่ได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผมจึงลองเขียนในหัวข้อที่พอถ่ายทอดได้และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นเรื่องลึกซึ้ง ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ผมขออภัยและยินดีรับคำแนะนำจากผู้อ่าน และกรุณาศึกษาหรืออ้างอิงในแหล่งอื่น เช่น พระวินัยปิฎก หากท่านสนใจเพิ่มเติม

เรื่องแรกที่จะเขียนในบล็อกนี้คือ “ศีล” และ “อาบัติ” โดยเฉพาะเรื่อง “อาบัติ” หัวข้อในเรื่องนี้ที่น่าจะเป็นประโยชน์และพอถ่ายทอดได้ มีดังนี้

Continue reading

Posted in ความรู้จากการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment

บันทึกการบวช: วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (นักท่องเที่ยว)

วันนี้ ๖.๐๐ น. ไปบิณฑบาตบนเส้นทางเดิมและมีฝนตกปรอย ๆ ถนนเลยไม่มีฝุ่นกรวดเศษหิน และเย็นสาก ๆ คล้ายเดินบนชายหาด ถึงกระนั้นยังมีคนตักบาตร ๓ ราย ลืมเล่าไปว่าหลวงพี่ปรีชาท่านให้ผมสวดบทกรวดน้ำคนเดียวด้วยตั้งแต่วันแรก ตอนสวดก็ตื่นเต้นดี หลวงพี่บอกว่าพรุ่งนี้เป็นวันอุโบสถ ต้องใช้สังฆาฏิ และฝึกท่องบทปลงอาบัติด้วย เนื่องจากใช้ในปาติโมกข์

13932123_10154485356444312_89554149_o - Copy

อีกมุมหนึ่งของเจดีย์หลวง

Continue reading

Posted in บันทึกการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment

ความรู้จากการบวช: พิธีบวช (อุปกรณ์ของใช้)

กัจจิ จุ โขหัง สุญญาคาเร อะภิระมามิ
เรายินดีในเสนาสนะอันสงัดหรือไม่ ?
(บทหนึ่งในทะสะธัมมะสุตตะปาฐะ — ธรรมะของผู้บวช)

อีกข้อสงสัยหนึ่งที่มือใหม่หัดบวชคือ ต้องเตรียมของอะไรไปเวลาบวชบ้าง หรือในกุฏิมีอะไรบ้าง ? เรื่องนี้จะแตกต่างกันตามแต่ละวัด สำหรับกุฏิที่ผมพักวัดเจดีย์หลวง ฯ เป็นตึกกุฏิ มีพื้นที่ส่วนกลางที่มีกระติกน้ำร้อน ที่อาบน้ำฝักบัว และถังขยะ กุฏิแบ่งเป็นห้อง ๆ จำวัดห้องละรูป ในกุฏิมีมุ้งลวด หลอดไฟ เหมือนห้องนอนว่าง ๆ ที่ไม่มีเตียง แต่จะมีผ้าปูนอน หมอน ผ้าห่ม แทน ส่วนใหญ่จะเป็นห้องพัดลม ไม่มีแอร์ ซึ่งเหมาะกับการจำวัดของพระ เพราะตอนจำวัดจะนุ่งแต่สบงกับอังสะซึ่งบางอยู่แล้ว เหตุที่เปิดพัดลมส่วนใหญ่ก็เป็นเครื่องปัดยุงอัตโนมัติเท่านั้น หลายวัดจะไม่มีผ้าห่มให้ เราสามารถใช้จีวรพับครึ่งแทนผ้าห่มได้ อุ่นกว่าที่ผมคิดไว้ซะอีก ในบล็อกนี้จึงขอสรุปรายการสิ่งของที่ต้องใช้เวลาบวชพระ เผื่อสำหรับเตรียมตัวของท่านอื่น ๆ ต่อไป

Continue reading

Posted in ความรู้จากการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment

บันทึกการบวช: วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (บิณฑบาต)

บิณฑบาตวันแรก

วันนี้ได้ไปบิณฑบาตวันแรก ตั้งนาฬิกาปลุกตั้งแต่ ๕.๓๐ น. เริ่มบิณฑบาต ๖.๐๐ น. ที่ยากสุดคือต้องครองจีวรแบบห่มคลุมคือห่มแบบปิดไหล่ขวา กว่าจะห่มได้ก็ ๖.๐๐ น. หลวงพี่ปรีชาเลยขึ้นมาเรียกและช่วยครองให้ ก่อนบิณฑบาตต้องถอดรองเท้าเพราะเวลาบิณฑบาตต้องเดินเท้าเปล่า เมื่อออกไปหน้าซอยก็เจอโยมพ่อโยมแม่มาใส่บาตรคนแรก ทางเดินไปบิณฑบาต คือตรงไปตามถนนราชมรรคา ผ่านโรงแรมอโนมา ข้ามคูเมืองไปถนนลอยเคราะห์ เลี้ยวขวาที่ลอยเคราะห์ซอย ๑ เดินตามซอยไปเรื่อย ๆ แล้วเลี้ยวขวาเข้าคชสารซอย ๕ ตรงโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต ออกจากคชสารซอย ๕ มาที่คูเมือง ข้ามคูเมือง แล้วเข้ามูลเมืองซอย ๑ ข้างวัดทรายมูลเมือง ซึ่งเข้าสู่ชุมชนทรายมูลเมือง เลี้ยวขวาที่ถนนมิตรปราณี และตรงออกไปที่ถนนราชภาคินัย ผ่านซอยเล็ก ๆ ตรงไปเรื่อย ๆ บนถนนนั้นและเลี้ยวซ้ายที่พระปกเกล้าซอย ๘ ทะลุซอยนี้จะถึงหน้าวัดเจดีย์หลวงพอดี ระยะทางยาว ๒.๗ กม. ดังแผนที่ (เพิ่มเติมภายหลังบวช) บิณฑบาตวันแรกยังเกร็ง ๆ หน่อยโดยเฉพาะไหล่ซ้ายที่ต้องจับปลายจีวรไว้

collection route

แผนที่เส้นทางบิณฑบาต

Continue reading

Posted in บันทึกการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment

ความรู้จากการบวช: พิธีบวช (ขั้นตอน)

อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร
ตั้งแต่วันนี้ไป พระเถระย่อมเป็นภาระของข้าพเจ้า, แม้ข้าพเจ้าย่อมเป็นภาระของพระเถระ
(บทหนึ่งในคำขอนิสสัยที่ใช้ในช่วงขอบรรพชาอุปสมบท)

อีกข้อสงสัยหนึ่งที่มือใหม่หัดบวชมักมีคือ การบวชของวัดที่ตนจะบวชมีขั้นตอนอย่างไรกันแน่ ? เพราะพิธีบวชในแต่ละวัดจะไม่เหมือนกัน ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า พิธีบวชและบทขานนาคในประเทศไทยจะแบ่งตามสายของวัดซึ่งมี ๒ สาย คือสายธรรมยุติกนิกาย (สายวัดป่า) จะใช้บทที่ขึ้นต้นด้วย เอสาหังฯ จึงมักเรียกว่าบวชแบบ เอสาหังฯ ส่วนสายมหานิกาย (สายวัดบ้าน) จะใช้บทที่ขึ้นต้นด้วย อุกาสะฯ จึงมักเรียกว่าบวชแบบ อุกาสะฯ ดังนั้น ท่านควรศึกษาว่าวัดที่ท่านบวชเป็นสายใด และบวชแบบใด ในที่นี้จึงบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการบวชของวัดเจดีย์หลวงเป็นหลัก ซึ่งเป็นสายธรรมยุติกนิกาย และใช้วิธีบวชแบบ เอสาหังฯ

อนึ่ง ในบล็อกนี้ การกราบจะหมายถึง การกราบ ๓ ครั้งแบมือ แม้กราบพ่อแม่ เพราะถือว่าพ่อแม่คือพระอรหันต์ของลูก และจะได้จำง่าย เพราะทั้งพิธีจะกราบ ๓ ครั้งแบมือหมด แต่บางวัดก็ให้กราบพ่อแม่ ๑ ครั้งไม่แบมือ เพราะถือว่าเป็นการกราบบุคคลธรรมดา

ขั้นตอนการบวชมีดังนี้

Continue reading

Posted in ความรู้จากการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment

บันทึกการบวช: วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (พิธีบวช)

พิธีโกนผม

วันนี้เป็นวันแรกของการบวช เริ่มตื่นตอนเช้า ๕.๓๐ น. นัดพระท่านโกนผมเวลา ๗.๓๐ น. มีครอบครัว ญาติ คุณครู และแขกผู้มีเกียรติหลายท่านมาร่วมตัดผม ก็ขอขอบพระคุณมาแขกทุกท่านที่มาร่วมงาน ณ โอกาสนี้ และทำให้รู้ว่าการตัดผมเป็นกิจกรรมเดียวที่แขกมีส่วนร่วมในงานบวช คล้าย ๆ กับการรดน้ำสังข์คู่บ่าวสาวในงานแต่งงาน เพราะนอกจากการตัดผมแล้ว แขกจะได้แต่นั่งพับเพียบในพิธีบวชเท่านั้น เสร็จแล้วหลวงพี่ก็มาโกนผม ท่านเอาแชมพูมาฟอกผมก่อนและโกนผม หลวงพี่โกนได้นิ่มมาก รู้สึกเหมือนมีดโกนแตะ ๆ แล้วผมก็ร่วงลงมา สักพักก็หมดหัวแล้ว วิวตรงที่โกนผมสวยมาก ๆ อยู่ข้าง ๆ กุฏิเจ้าอาวาส เป็นที่ที่หนึ่งที่ถ่ายรูปแล้วเก็บยอดเจดีย์ได้ทั้งหมด เพราะเจดีย์สูงมาก จนต้องอยู่ใกล้ ๆ รั้ววัดอย่างที่กุฏินี้ จึงจะถ่ายรูปแล้วเก็บยอดเจดีย์ได้ทั้งหมด และมองเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่บนเจดีย์ด้วย แล้วล้างหัวด้วยสายยางที่อยู่ข้าง ๆ เสร็จแล้วก็แต่งชุดนาคในกุฏิ พระท่านให้ยืมประคตเอวมาเป็นเข็มขัดนาคด้วย พอแต่งชุดนาคเสร็จก็สัก ๘.๓๐ น

17274223_10155031225589454_2034873392_n

พระอัฏฐารส วัดเจดีย์หลวง

Continue reading

Posted in บันทึกการบวช, ประสบการณ์การบวช | Leave a comment